วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

.แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นอย่างไร? ก็ดูเหมือนจะทำนายกันได้ยากเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ดียังมีวิธีการที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ นั่นคือการใช้ เทคนิค เดลฟาย (Delphi technique) ที่ผู้ให้ข้อมูลจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจริง ๆ ที่มีประสบการณ์ ที่กว้างขวางและช่ำชองเป็นเยี่ยม ผลการทำนายอนาคตหรือหาแนวโน้มจึงจะถูกต้องแม่นยำ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาก็มีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมากล่าวไว้อย่างน่าฟังต่าง ๆ นานา เช่นกัน.....บทความที่ท่านอ่านอยู่นี้ผู้เขียนในฐานะที่อยู่ในวงการเทคโนโลยีการศึกษาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี และได้ติดตามความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากวารสารและเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ จึงขอแสดงความคิดเห็นถึงแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีการศึกษาช่วงระยะปี 2539 - 2549 ไว้ดังนี้คือ
.....1. ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียน (Learning resources center) สำหรับการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจะมีแนวโน้มร่วมมือร่วงมือกันจัดตั้งเป็นศูนย์กลางใช้ร่วมกันในกลุ่มโรงเรียน และเป็นการบริการที่สะดวกสบาย เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและมีสื่อการสอนที่มีคุณภาพและมากพอเพียงกับความต้องการ ส่วนสื่อพื้นฐาน เช่น กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายต่าง ๆ ฯลฯ ก็จะมีประจำอยู่ในห้องเรียนแล้ว ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็จะมีสำนักเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยกลางในการผลิตสื่อและให้บริการกับทุกหน่วยงานในสถาบัน ตลอดจนทำการวิจัยและพัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพสูง
.....2. ชุดสื่อการสอน (Media package) นักเทคโนโลยีการศึกษาจะผลิตสื่อออกมาเป็นชุดสำเร็จรูปเพื่อสนองตอบความต้องการของครู โดยเน้นเนื้อหาที่ครูส่วนมากสอนนักเรียนไม่ค่อยเข้าใจ ชุดสื่อสำเร็จรูปประกอบด้วย คำแนะนำในการใช้ประกอบการสอนตัวสื่อ แบบฝึกหัดและแบบทดสอบตัวสื่อก็จะเป็นลักษณะ สื่อประสม (Multimedia)
.....3. การปรับปรุงเครื่องมือประกอบการสอน (Improved media equiment) จะมีลักษณะพัฒนาเครื่องมือหลาย ๆ อย่างให้อยู่ในเครื่องมือเดียวกัน เป็นลักษณะเอนกประสงค์ที่มีเครื่องมือชิ้นเดียว แต่ใช้ได้หลายหน้าที่ เช่น เป็นทั้งเครื่องฉายสไลด์และเครื่องฉายภาพโปร่งใส เป็นต้น
.....4. ใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ (Increase utilizing computer) โดยจะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบการสอน มีการผลิตโปรแกรม CAI มากวิชาและมากเนื้อหา เพื่อให้สถาบันการศึกษาได้นำไปใช้ โดยเฉพาะจะทำเป็นลักษณะ Multimedia นอกจากนี้ในสถาบันการศึกษายังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้นที่เรียกว่า CMI (Computermanagement instruction ) เพื่อความรวดเร็วในการใช้ข้อมูล
.....5. การผลิตสื่อจากท้องถิ่น (Local medias production) การผลิตสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะมีความริเริ่มทั้งรูปแบบวัสดุและเน้นประสิทธิภาพในการใช้ประกอบการสอน
.....6. การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์ (Printing media) โดยเฉพาะตำราเรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งด้านเนื้อหาวิชาที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ลักษณะรูปเล่มและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของหนังสือจะเปลี่ยนไปเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของนักเรียน จนในที่สุดจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic books)
.....7. การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในและนอกประเทศจะมีมากขึ้น ทั้งนี้เพราะระบบโลกาภิวัตน์ ทำให้หน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ได้ติดต่อใกล้ชิดกันอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายและด้วยความก้าวหน้าทาง IT (Information Technology)ก็ยิ่งช่วยให้การเชื่อมโยงข้อมูลสะดวกรวดเร็วและมีประมาณมากขึ้นเป็นลำดับ
.....8. สื่อประเภทรายบุคคล (Individual media) เนื่องจากการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ฉะนั้นโอกาสที่ผู้เรียนจะเข้าชั้นเรียนจึงน้อยลง ทำให้ทุกคนต้องเรียนด้วยตนเองเมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน ฉะนั้นสื่อประเภทนี้ จึงต้องมีความสมบูรณ์ในตัวที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้เอง ซึ่งสะดวกต่อการพกพาไปได้ มีขนาดกะทัดรัด ใช้ง่าย และจูงใจให้ใช้ อาจจะอยู่ในรูปหนังสือโปรแกรม เทปเสียงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆแหล่งที่มาhttp://www.geocities.com/mathematicity/future_tech.htm

 เทคโนโลยี เป็นตัวผลักดันที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เทคโนโลยีการสื่อสารที่ผนวกเข้ากับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) ที่ได้เปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารซึ่งเริ่มต้นขึ้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)เป็นการปฏิวัติการสื่อสารโทรคมนาคมที่ส่งผลกระทบต่อวิธีดำเนินงานในทุกด้านรวมทั้งการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD)ให้สามารถจัดการความรู้ที่ท่วมท้นอยู่ทั้งในตัวคน (Tacit Knowledge) และที่เผยแพร่อยู่ในสื่อทั้งหลาย (Explicit Knowledge)ให้เป็นระบบที่ดีเพียงพอที่จะปรับองค์กรให้รับกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตรได้อย่างเป็นต่อ ด้วยการนำกลยุทธทั้งหลายทั้งด้านIT และ HRD มาใช้ให้สอดรับกับกลยุทธขององค์กร เทคโนโลยี่ด้านการสื่อสารมีหลายรูปแบบ เช่น e-learning, web-technology, ubiquitous learning, virtual learning อยู่ที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเลือกใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของปัญหาที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน หรือกลยุทธที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต รวมทั้งงบประมาณได้อย่างกลมกลืนเพียงใด ที่สำคัญ คือ วิสัยทัศน์ขององค์กรซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ไม่ใช่เป็นแค่ความใฝ่ฝันแบบเพ้อเจ้อ พันธกิจและกลยุทธที่กำหนดขึ้นจะต้องมี action ที่เร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของลูกค้า คู่แข่ง และเท็คโนโลยี
 HR Professional กับการใช้ IT ให้เป็นประโยชน์
        Ulrich (อ้างถึงใน Sharyn D. Gardner, David P. Lepax และ Kathryn M Bartol, 2003) ให้ความเห็นว่า การที่ HR professional จะเข้าเป็นส่วนร่วมทางธุรกิจ (business partner) กับองค์กรได้นั้น ต้องกระทำภารกิจที่สำคัญทั้ง ประการต่อไปนี้ให้สำเร็จ คือ
1.  การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
        HR Professional จะต้องสามารถสร้างและเข้าเป็นส่วนร่วมในการดำเนินการตามกลยุทธ์ (strategic partner) ด้วยการผสานการทำงานของบุคลากรทั้งหลายให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับกลยุทธขององค์กร
2.  การบริหารงานประจำแบบมืออาชีพ
     HR Professional จะต้องบริหารจัดการงานที่เป็นงานประจำของการบริหารงานบุคคล เช่น การรับคน การฝึกอบรม ฯลฯ อย่างมืออาชีพ ไม่ให้งานประจำเหล่านี้กลายมาเป็นตัวขัดขวางหรือทำให้การพัฒนาในด้านอื่นๆต้องล่าช้าออกไป
3.  การสร้างความผูกพันของพนักงานกับองค์กร
     HR Professional ต้องสามารถทำให้พนักงานมีความรู้สึกผูกพันและพร้อมที่จะทำงานให้กับองค์กรอย่างเต็มความสามารถ
4.   การสร้างวัฒนธรรมองค์กร
HR Professional ต้องทำตัวเป็น change agent โดยให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ในองค์กรให้ทุกคนมีความมั่นใจว่าองค์กรยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้
การนำ IT ไปใช้ เป็นการใช้ประโยชน์จากสมรถนะที่สำคัญ ประการของ IT คือ
1)  ความเป็นอัตโนมัติ (Automation)
วัตถุประสงค์แรกๆของการนำ IT มาใช้ ก็คือเอามาช่วยลดภาระของบุคลากรในงานประจำทั้งหลาย IT automation สามารถลดปริมาณงานประจำลงไปได้มาก เช่น การจัดทำรายงาน การจัดเก็บข้อมูล ผลก็คือบุคลากรจะมีเวลาเหลือ นำมาใช้ในการคิดและสร้างสรรงานจากสติปัญญาของตนได้มากขึ้น ตัว HR Professional เองก็สามารถใช้เวลากับกิจกรรมด้านธุรการน้อยลงและนำเวลามาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มากขึ้น
2)  ข้อมูล (Information)
IT ทำหน้าที่ในบทบาทด้านข้อมูลมากกว่าความเป็น  automation เพราะ IT ช่วยให้กิจกรรมและเหตุการณ์ทั้งหลายมีความโปร่งใส บุคลากรจะรู้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้นว่ามีอะไรเกิดขึ้นหน่วยงานหรือในองค์กรของตน พวกเขาสามารถเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ HR ชี้แจงหรือแจ้งได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกัน HR Professional ก็สามารถเข้าถึงและประเมินข้อมูลทางสถิติได้ถ้ามีระบบฐานข้อมูลด้าน HR ซึ่งหากไม่มีระบบ IT เข้ามาช่วย คงต้องใช้เวลานานขึ้นไปอีก 
3)  การปรับเปลี่ยน (Transformation)
IT สามารถปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีการดำเนินงานที่ทันสมัย IT ทำให้เกิดความคิดสร้างสรร ทำให้เกิดข้อมูลและความรู้ซึ่งเป็นสุดยอดสินทรัพย์ขององค์กร IT ทำให้เกิดความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธในสินค้าและบริการขององค์กรเพื่อสร้างความคล่องตัวและความสามารถในการแข่งขัน การปรับเปลี่ยนดังกล่าวอาจผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ในการคิดนอกกรอบซึ่งทำให้เกิดความคิดริเริ่มหรือนวัตกรรม
        ในขณะที่ IT สามารถลดการทำงานของคนให้น้อยลงเพื่อให้มีเวลาเหลือมากขึ้น HR Professional จะต้องใช้ประโยช์ที่เกิดขึ้นนี้ไปในทางที่จะดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาใช้ให้เกิดการปรับเปลี่ยนที่เหมาะสมกับองค์กร
เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเมื่อใช้ e-learning ในการพัฒนาคน
        การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้เทคโนโลยี่ที่เรียกว่า e-learning มีเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอยู่ ประการ (Virpi Slotte and Anne Herbert, 2006)
1.  เมื่อผู้เรียนมีเป้าหมายจะต้องเรียนให้สำเร็จเพื่อให้ได้หลักฐานรับรองสักอย่าง    e-learning จะมีประสิทธิผลน้อยกว่าการเรียนรู้แบบดั้งเดิม เพราะประสิทธิผลของ e-learning เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งการเรียนรู้ที่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนอาจมีเวลาน้อยเกินไปที่จะค้นพบการออกแบบเครื่องมือเช่นว่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไปว่าบุคลากรจะเรียนรู้งานโดยการใช้เทคโนโลยี่ที่แตกต่างกันได้อย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และจะพัฒนาสื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้อย่างไร
2.  หากมีเวลาเพียงพอในการจัดทำหลักสูตร การเรียนแบบ e-learning จะช่วยให้บุคลากรใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความคาดหวังขององค์กรด้วยว่าตั้งใจให้บุคลากรใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกฝนจากผู้เกี่ยวข้องนานสักเพียงใด เพราะการเรียนรู้ในสถานที่ทำงาน เวลาที่ใช้ไปในการเรียนรู้ถือเป็นประโยชน์เพิ่มเติมพิเศษเพราะการเรียนรู้ไม่ได้เป็นกิจกรรมเป้าหมายในการจ้างบุคลากรนั้นมาทำงาน พนักงานถูกจ้างมาเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างกำไรให้เกิดกับองค์กร ปัญหาเรื่องเวลาที่เหมาะสมที่จะใช้เพิ่อการนี้จึงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับองค์กรว่าจะใช้เท่าไรจึงจะพอดี
3. หากองค์กรมอง e-learning ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลในการให้ความรู้แก่พนักงาน องค์กรจะต้องมีวิธีการจัดการบริบทของการเรียนรู้รวมทั้งคัดเลือกเนื้อหาที่จะให้เรียนรู้อย่างเหมาะสม หากเรื่องที่ควรเรียนแต่ไม่ได้ให้เรียน เทคโนโลยี่อะไรก็ไม่มีประโยชน์
 ธุรกิจฉับไว ต้องสร้างคนให้ทัน
        ความก้าวหน้าด้าน IT ได้ก่อให้เกิดการค้าแบบที่เรียกว่า e-commerce ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการแข่งขันเชิงกลยุทธ ธุรกิจประเภทนี้ใช้ internet ในการติดต่อกับลูกค้าในการซื้อและขายสินค้า เทคโนโลยี่การสื่อสารแบบไร้สายและ PDA ช่วยให้ลูกค้าสามารถ update ข้อมูลทั้งหลายที่ไหนก็ได้ภายในเวลาอันสั้น เช่นเดียวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่ e-learning ก็สามารถพัฒนาความรู้ในงานอาชีพได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นกัน การใช้ IT เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ขององค์กรจึงกลายเป็นเรื่องธรรมดามากในปัจจุบัน
        เมื่อมีธุรกิจ e-commerce เกิดขึ้น องค์กรที่จัดตั้งมาก่อน อยู่ดีๆก็ต้องไปแข่งกับบริษัทใหม่ที่ค้าขายทาง internet จึงเกิดเป็นความจำเป็นที่องค์กรเหล่านั้นต้องหันมาทบทวนรูปแบบธุรกิจของตนและรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจกันใหม่ องค์กรทั้งหลายในปัจจุบันจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้เร็วกว่าแต่ก่อน นำสินค้าเข้าตลาดให้เร็วขึ้น และเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ไว องค์กรต้องจับลูกค้าให้ติด และเหนือสิ่งอื่นใด องค์กรทั้งหลายต้องสามารถจัดการทรัพยากรที่เรียกว่า ความรู้ ของตนให้คงความได้เปรียบในเชิงแข่งขันเอาไว้ให้ได้ การใช้เทคโนโลยี่การสื่อสารที่มีความคล่องตัวรวดเร็วและการพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงานด้วยกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นหัวใจความสำเร็จขององค์กรในปัจจุบัน
        การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขององค์กรอันเป็นผลจากความก้าวหน้าด้าน IT ได้สร้างความท้าทายต่องานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งต้องมองประเด็นที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม เช่น จำนวนพนักงานและงานที่เหมาะสมของพนักงานประจำและของพนักงานตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา  การทำองค์กรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การสร้างคนให้เป็นทุนทางปัญญา การจัดการและแบ่งปันความรู้ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน การสร้างให้คนเป็นผู้รักการเรียนรู้และใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง การลดช่องว่างของทักษะที่แตกต่าง การจัดการกับพนักงานที่มีอายุการทำงานนาน แลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น เพื่อจัดการกับภาระกิจดังกล่าว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงต้องทำอะไรที่มากกว่าไปกว่างานที่ทำอยู่แต่เดิม คือการให้การฝึกอบรม การพัฒนาสายงานอาชีพ และการพัฒนาองค์กร เป็นการพัฒนาที่สอดรับกับเท็คโนโลยี่ทันสมัย PDA, โทรศัพท์เคลื่อนที่,และการต่อ internet แบบไร้สาย ช่วยให้พนักงานที่ทำงานกันคนละพื้นที่สามารถติดต่อและเข้าถึงข้อมูลของกันได้ การเรียนรู้จึงไม่จำกัดอยู่แต่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอีกต่อไปแต่จะสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา การเรียนรู้แบบ e-learningและการให้การฝึกอบรมแบบในชั้นเรียนจึงสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ตามความเหมาะสม
        ทั้ง IT และ HRD มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อองค์กร ศักยภาพในการจัดการความรู้และการเรียนรู้ของพนักงานจะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของลูกค้า ความสามารถนี้นับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญยิ่งในทางธุรกิจ
สิ่งที่นัก HRD มักเผลอลืม
        การไหลบ่าท่วมท้นของข้อมูลข่าวสารในสื่อ IT นับเป็นข้อได้เปรียบสำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งหลายและเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ครั้งสำคัญที่เรียกว่า disintermediation ซึ่งเป็นคำในเชิงธุรกิจที่มีหมายความว่า กระบวนการที่คั่นกลางหรือคนกลางทั้งหลายที่อยู่ระหว่างผู้จำหน่ายสินค้ากับผู้บริโภค จะหมดความจำเป็นที่ต้องมีอีกต่อไป การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มของการเชื่อมโยงเครือข่าย ข้อมูลที่พร้อมมูลรวมไปถึงโอกาสการเรียนรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้อื่น จะช่วยปรับปรุงการทำงานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขององค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร สิ่งที่นัก HRD จะต้องไม่เผลอลืมก็คือ เครื่องมืออีเล็คโทรนิคเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานแต่ไม่ได้ประกันว่าจะช่วยให้การทำงานประสบผลสำเร็จ มันอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายในการให้ความรู้และการจัดฝึกอบรมในบางโอกาส แต่มันไม่ได้ให้คำตอบต่อปัญหาทั้งหมดที่เราต้องการ  นัก HRD จึงควรใช้เครื่องมืออีเล็คโทรนิคในการประมวลข้อมูลตามศักยภาพของเครื่องมือ แต่ยังจะต้องให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างกันของผู้ปฏิบัติงานและรวมผลการศึกษาที่รู้มาให้เกิดเป็นประโยชน์แก่องค์กร ไม่ใช่ปล่อยให้เครื่องมือเหล่านี้ทำหน้าที่ให้การศึกษาเรียนรู้แก่บุคลากรแทนนัก HRD (Jack Hite Jr, Jack J Phillips, James Austin Hite, 1999, pp. 22-25)
อนาคตของเทคโนโลยี่การสื่อสารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
        สิ่งสำคัญลำดับแรกๆของการบริหารงาน คือการเชื่อมโยงกลยุทธ์ด้าน IT กลยุทธ์ด้าน HRD และกลยุทธ์ขององค์กรเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้ง IT และ HRD จะเป็นตัวจักรที่ทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การศึกษา เทคโนโลยี่ และการเมืองซึ่งเป็นปัจจัยแวดล้อมทั้งขององค์กรและประเทศชาติไปได้อย่างมั่นคง (Catherine Sleezer, Tim L. Wentling, Roger L. Cude, 2002, pp. 11-12)
        นับจากนี้ไป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านการศึกษาและฝึกอบรม จะมีลักษณะที่เป็นอิสระมากขึ้น เป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือสื่อสารสนเทศเป็นเครื่องมือ การเรียนรู้จะมีลักษณะประสานความร่วมมือและเน้นที่การเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติงาน ขอบเขตของความรู้ที่แสวงหาจะเป็นในระดับโลก (global) โดยเน้นไปที่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เป็นการเตรียมตัวผู้เรียนให้พร้อมกับสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตแบบใหม่ ทรัพยากรมนุษย์จะได้รับการเน้นความสำคัญเพื่อการพัฒนาให้มีสมรรถภาพมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้เกิดความรักความผูกพันในองค์กรเป็นเรื่องที่ต้องทำให้เกิดขึ้น บทบาทและทักษะที่จำเป็นต้องใช้กับงานใหม่ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรมีความสามารถที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมใหม่ได้ (Philip R. Harris, 1983) 
        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่จะปฏิวัติทั้งวิธีการเรียนและเรื่องที่เรียน มันจะช่วยให้ระบบการเรียนแบบที่เป็นอยู่มีชีวิตชีวาขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะสร้างโอกาสการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการให้มากขึ้น ที่เห็นได้ในปัจจุบันก็คือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบสำนักงานอัจฉริยะ (office automation)  และแนวโน้มในทศวรรษข้างหน้าที่จะมีการส่งข้อมูลและความรู้ผ่านดาวเทียมรวมทั้งการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย เทคโนโลยี่การสื่อสารจะเปลี่ยนลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับวิธีการเรียนรู้และวิธีการจัดการความรู้ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีความสามารถในการใช้ IT เพื่อการพัฒนาตนเองและผู้ร่วมงาน การเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ (computer-based learning) จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คอมพิวเตอร์จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการใช้สื่ออีเลคโทรนิคไล่ไปตั้งแต่การใช้วีดีโอเทปไปจนถึงการเรียนแบบสองทาง (videoconference) เนื้อหาที่เรียนก็จะมีเรื่องใหม่ๆเช่น การบริหารแบบมหภาค (macro management) และการบริหารข้ามสายวัฒนธรรม (cross-cultural management) กลยุทธการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะครอบคลุมทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปจนถึงการปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
        การให้การอบรมโดยใช้ระบบเทคโนโลยี่การสื่อสาร (Information Technology Support System: ITSS) เช่นระบบ webจะช่วยให้บุคลากรที่มีฐานปฏิบัติงานต่างพื้นที่ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันและสามารถสนองความต้องการในการเรียนรู้ในงานของตนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ให้กันและกัน สิ่งสำคัญคือ ผู้ที่จะรับการพัฒนาด้วยวิธีนี้จะต้องมีใจที่เปิดกว้าง พร้อมที่จะเปิดเผยเรื่องที่ตนถนัดและไม่ถนัดออกมาอย่างชัดแจ้ง และต่างมีใจ (hearts and minds) ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วย(Norma J. Ford, 2006) อย่างไรก็ตามก็มีผู้รู้บางท่าน (Eugene Sadler-Smith, Simon Down, Jonathan Lean, 2000) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า การใช้ internet, telematics, หรือสื่อเสมือนจริง (virtual reality) ทั้งหลาย ไม่สามารถเข้ามาทดแทนการเรียนรู้จากการกระทำได้โดยสมบูรณ์ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงควรคิดวิธีการใช้ IT เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่เพื่อเอามาแทนที่วิธีการเรียนรู้แบบอื่นๆแต่เพื่อใช้ร่วมกับเครื่องมือชนิดอื่นโดยมุ่งที่ความต้องการของผู้เรียนรู้หรือกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ความท้าทายของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงอยู่ที่การใช้และผนวกวิธีการทั้งเก่าและใหม่โดยอาศัยจุดแข็งของแต่ละเครื่องมือมาทำให้เกิดประโยชน์แก่บุคลากรและสนองความต้องการขององค์กรได้อย่างสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น